บริการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์


การเตรียมข้อมูลบัญชี

การที่บริษัทจะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของกฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง การเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกรรมการ การจัดโครงสร้างธุรกิจ การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และหนึ่งในเรื่องที่สำคัญคือ การจัดทำงบการเงิน ที่ต้องจัดทำตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PIEs)

เราสามารถช่วยเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบทางการเงินให้สอดคล้องตามความต้องการของหน่วยงานกำกับดูแล ดังต่อไปนี้

  •  ให้คำแนะนำบุคลากรด้านบัญชีให้มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำงบรายงานทางการเงินให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  •  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการระบุความแตกต่างของมาตรฐานรายงานทางการเงินชุดใหญ่ (TFRS) และชุดเล็ก (TFRS for NPAE)
  •  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นบัญชีเพื่อการเตรียม IPO
การควบคุมภายใน (การบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติงาน)

การสอบทานและการตรวจสอบข้อมูลภายใน

ทุกบริษัทมีความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฝ่ายบริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมภายในเพื่อรักษาผลกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น การควบคุมภายในถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความโปร่งใสและความยืดหยุ่นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เราสามารถช่วยให้คุณเข้าใจความเสี่ยงที่บริษัทเผชิญเพื่อการป้องกันที่ดีขึ้น ลดโอกาสและผลกระทบที่จะเกิด ลดค่าใช้จ่ายในการควบคุม เพราะการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะช่วยเพิ่มความมั่นคงของบริษัท

ESG (Environment, Social and Governance)
ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน “ESG” หรือสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance) หรือเรียกว่า “ESG Risk” ซึ่งเป็นความท้าทายที่องค์กรจะต้องหาวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสร้างโอกาส และลดความเสี่ยง ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการสร้างผลกำไร การแข่งขัน ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง และความอยู่รอดขององค์กร การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะทำให้ธุรกิจมีความเข้มแข็ง เติบโต ได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว 

ดังนั้นธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ โดยบูรณาการการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนเข้าไปตั้งแต่การกำหนดพันธกิจและกลยุทธ์องค์กร รวมถึงควรวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk and Materiality Analysis) มาประกอบกับการจัดการความเสี่ยงในระดับต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ

การเปิดเผย ESG เป็นรูปแบบการรายงานต่อสาธารณะโดยผู้บริหารขององค์กรเกี่ยวกับผลการดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) การเปิดเผยข้อมูล ESG ซึ่งถูกใช้โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย รวมถึงชุมชน ลูกค้า พนักงาน หน่วยงานกำกับดูแล และคู่ค้า เพื่อให้เข้าใจว่าบริษัทมีการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ESG ได้อย่างไร

เราสามารถช่วยเตรียมความพร้อมในการป้องกันและปรับตัวรับความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงแสวงหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจจากความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพผ่าน 7 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ดังนี้

1. กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแล
2. เข้าใจบริบทและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
3. ระบุประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG
4. ประเมินและจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงด้าน ESG
5. ตอบสนองต่อประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG
6. ทบทวนและปรับปรุงประเด็นความเสี่ยง ด้าน ESG
7. สื่อสารและเปิดเผยประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้